วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ลิงค์บล็อกห้อง 3/7

ประวัติส่วนตัว


ด.ช.ฐิรพงศ์  ศศิธรนภาพันธ์  
มัธยมศึกษาปีที่ 3/7  เลขที่ 6 
เกิดวันพฤหับดี  ที่  28  กันยายน  พ.ศ.2543
อายุ : 14 ปี
วิชาที่ชอบ : คณิตศาตร์ อังกฤษ
วิชาที่ไม่ชอบ : ภาษาไทย 
กรุ๊ปเลือด : โอ
สีที่ชอบ :  สีส้ม
อาหารที่ชอบ : ซูชิ
สถานที่ที่ชอบ : ทะเล
ดนตรีทีชอบ : เปียโน 
เพลงที่ชอบ : ห้องนอน, Please ฯลฯ
นิสัยส่วนตัว : โมโหง่าย ขี้วีน ร่าเริง เฮฮาสนุก เวลาอยู่กับเพื่อน 
งานอดิเรก  : อ่านนิยาย ฟังเพลง ถ่ายรูป 
คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
โรงเรียนวัดราชโอรส

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง สมุนไพรไทย

ง23202 
ชื่อโครงงาน : สมุนไพรไทย
ประเภทโครงงาน : โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้ทำโครงงาน 1.นางสาว ดรัลพร     คงคางาม   ชั้น 6/7   เลขที่ 25
                            2.นางสาว ภาวินี       พ่วงแพ      ชั้น 6/7   เลขที่ 29
                            3.นางสาว นฤนันต์    จันดามี      ชั้น 6/7    เลขที่ 31
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา : นางสาวดรุณี บุญวงค์
ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานร่วม (ถ้ามี)
ระยะเวลาดำเนินงาน : -
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
1. ที่มาและความสำคัญ
       ในยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการเจริญก้าวหน้าอย่างกว้างขวางและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในแต่ละยุคก็จะมีพืชสมุนไพรนานาชนิดเยอะแยะมากมายที่แตกต่างกันออกไป และคนไทยก็ได้มีการค้นพบสรรพคุณของพืชสมุนไพรชนิดต่างๆและได้นำคุณประโยชน์มาประยุกต์ใช้ในเรื่องของการแพทย์
       ในประเทศไทยที่เราอาศัยอยู่นั้นได้มีการอนุรักษ์สมุนไพรไทยต่างๆ ซึ่งสถานที่ที่ได้ทำการอนุรักษ์ไว้มีอยู่หลายจังหวัด เช่น อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติจังหวัดนครปฐม,สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดระยอง, มูลนิธิกิตติขจรเภสัชเวทย์ กรุงเทพฯ,สวนสมุนไพรจันทบุรี เป็นต้น และจังหวัดระยองที่เราอาศัยอยู่นั้นก็มีแหล่งอนุรักษ์สมุนไพรไทย ซึ่งมีสมุนไพรมากกว่า 200 ชนิด แต่คนในปัจจุบันนั้นมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรน้อยมากและไม่ค่อยรู้สรรพคุณและโทษของสมุนไพรแต่ละชนิด ซึ่งในการเผยแพร่นั้นเราจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ด้วย คือการสร้างสื่อสารคดีเพื่อการเรียนรู้ และเข้าใจได้ง่าย
       เหตุนี้ทำให้เราอยากศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรไทยเพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่แก่คนรุ่นหลังเพื่อได้รับประโยชน์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
2. วัตถุประสงค์
       1. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรไทย
       2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประเภทของสมุนไพร
       3. เพื่อศึกษาสรรพคุณและโทษของสมุนไพรไทย
       4. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยให้รุ่นต่อไปได้
       5. เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. หลักการและทฤษฎี
       พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพรหมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือแปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้นเช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือนำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพรพืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
       ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด (http://kwanglres.blogspot.com/)
4. วิธีดำเนินงาน
    หลักการใช้โปรแกรม
       โปรแกรมที่ใช้ทำคือโปรแกรม Proshow Gold คือ โปรแกรมสำหรับเรียงลำดับภาพเพื่อนำเสนอแบบมัลติมีเดีย ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ในระดับมืออาชีพ ด้วยเทคนิคพิเศษมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะสมต่อการนำเสนอสื่อ การเรียนการสอน การแนะนำอัตชีวประวัติ สามารถเขียนชิ้นงานออกมาในรูปแบบของวีซีดีได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างแผ่นวีซีดีจากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว โดยสามารถทำการใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย และสามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์ต่าง ๆ ได้ เช่น VCD ,DVD หรือ EXE ฯลฯ ภาพที่ได้จัดอยู่ในคุณภาพดี ซึ่งโปรแกรมอื่นจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควร (http://patpooh03.blogspot.com/)
    หลักการตัดต่อวีดีโอ
       1. การวางแผน เป็นการกำหนดเรื่องราวที่จะถ่ายทำว่าต้องการถ่ายทำสิ่งใด และกำหนดความยาวของเรื่องเพื่อที่จะได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม
       2. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตต้องการจะถ่ายทำเพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นเก็บไว้
       3. แคปเชอร์ (Capture)เป็นการถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นภาพอย่างเดียว หรือทั้งภาพและเสียงทีได้จากเทปวีดีโอ (VHS) มาบันทึกลงใน Harddisk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการจัดเก็บเป็นไฟล์ .AVIหลาย ๆ ไฟล์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และสามารถนำไฟล์ .AVI นี้ไปใช้ในการตัดต่อภาพได้
       4.การตัดต่อ เป็นการนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์ที่จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มาเรียงต่อกัน โดยทำการเลือกภาพและเสียงที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการตกแต่งภาพ โดยการเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ เช่น สีสัน ความสวยงาม ข้อความ เพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหว ลดเหลี่ยมของภาพ หรือจะทำการปรับเปลี่ยนความยาวของข้อมูลก็ได้ เช่นการตัดต่อวีดีโอด้วย Adobe Premiere ปัจจุบันการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้งานที่มีคุณภาพดีกว่า เนื่องจากสามารถเพิ่มเทคนิคพิเศษ ปรับแต่งภาพให้สวยงามได้ จึงได้รับความนิยม แต่ผู้ที่ต้องการตัดต่ออย่างมืออาชีพต้องไม่ลืมว่างบประมาณในการเตรียมอุปกรณ์ตัดต่อนั้นมีราคาแพง หากจะทำการตัดต่อเพื่อเพิ่มความรู้ก็ควรใช้อุปกรณ์ที่มีราคาเหมาะกับงานที่จะทำ เพื่อป้องกันความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
       5. การจัดทำสื่อประสม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทำการเก็บบันทึกให้อยู่ในรูปของไฟล์ต่าง ๆ เทปวีดีโอ แผ่นวีซีดี หรือแผ่นดีวีดี ซึ่งเป็นสื่อที่นิยมมากในปัจจุบัน เพื่อจะได้เก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ หรือนำออกมาเพื่อเผยแพร่ (http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html)
ขอบเขตของโครงงาน
       การสร้างสื่อวีดีทัศน์เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับสมุนไพรไทยโดยใช้โปรแกรมProShowGoldในการตัดต่อภาพกับวีดีโอ สามารถนำเพลงมาใส่ เพื่อให้งานสมบูรณ์ในการนำเสนอยิ่งขึ้น และใช้โปรแกรมPhotoshopสร้างEffect ในภาพเพื่อนำไปตัดต่อวีดีโอเพื่อความสวยงาม
ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ที่
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนมิถุนายน
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
คิดหัวข้อโครงงาน
ü











2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล

ü










3
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ




ü







4
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน






ü





5
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่ 
1








ü





6
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่ 
2









ü



7
ปรับปรุง ทดสอบ









ü


6
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน










ü

8
ประเมินผลงาน











ü
9
นำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน











ü

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
       1.นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย
       2.นักเรียนได้รู้ประเภทของสมุนไพรไทย
       3. นักเรียนได้รู้สรรพคุณและโทษของสมุนไพรไทย
       4. คนรุ่นหลังสามารถได้รับความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยได้อย่างทั่วถึง
       5. นักเรียนหรือบุคคลทั่วไปสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

7. เอกสารอ้างอิง
    การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 จากเว็บไซต์:
       http://www.moe.go.th/webhr/index.php?       option=com_content&view=article&id=102:videoforpr&
catid=35:prkm&Itemid=37
ความสำคัญของสมุนไพรไทย.สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2556 จากเว็บไซต์:
       http://www.angelfire.com/ri2/rangsan/important.html
สมุนไพรไทย.สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2556 จากเว็บไซต์: http://xn--o3cepkej9b3gpeg.ne